Lecture


บทที่ 8
  เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
  สีสันในเว็บเพจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกโดยรวมของเว็บไซต์



 เราสามารถใช้สีได้กับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่ รูปภาพ ตัวอักษร สีพื้นหลัง การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา

 การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน






ใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านได้




  การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เวบไซต์น่าดูมากยิ่งขึ้น




   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี

  แม่สีข้างต้น (Primary Color)  

-สีแดง
-สีเหลือง                                                                  
-สีน้ำเงิน
  สีขั้นที่ 2
  สีขั้นที่ 3
  สีขั้นที่ 4
การผสมสีมี 2 แบบ



  การผสมสีแบบบวก  (Additive mixing)   จะเป็นรูปแบบการผสมของแสงไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ









  การผสมแบบลบ  (Subtractive mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ





 วงล้อสีเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดเรียงสีทั้งหมดไว้ในวงกลม และเป็นการจัดลำดับเฉดสีอย่างมีเหตุผลและง่ายต่อการนำไปใช้  






บทที่ 9
   กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บเพจ ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้เว็บไซต์น่าดูชมยิ่งขึ้น
 ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับการสร้างกราฟฟิกคือ การเลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูปโดยไม่รู้จักความแตกต่างของรูปแบบกราฟฟิก ส่งผลให้รูปที่ได้มีลักษณะที่ไสมบูรณ์และมีไฟใหญ่เกินความจำเป็น


 
 หลายๆ เว็บไซต์ใช้กราฟฟิกในการออกแบบ ทำให้เว็บเพจมีความสวยงามและน่าสนใจ


รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ (GIF , JPG และ PNG)
  GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format
              > ได้รับความนิยมในยุคแรก
              >  มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด 256 สี
              >  มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยส่วนพื้น


           JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group
             >  มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7  ล้านสี
             >  ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)
             >  ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด


       PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic
          >  สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต
            >  มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless)
            >  มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma) และความโปร่งใส(Transparency) ในตัวเอง

   กราฟฟิกรูปแบบ GIF
        > มีไฟล์นามสกุลเป็น .gif
           >  GIF เป็นกราฟฟิกประเภทเดียวที่สามารถนำไปใช้กับเบราเซอร์ทุกชนิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวอร์ชั่นใดๆ
           >  GIF มีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว
           >  GIF มีระบบสีแบบ Index เก็บข้อมูลสีได้สูงสุด 8 bit 
   กราฟฟิกรูปแบบ JPEG
           > มีนามสกุลเป็น .jpg หรือ .jepg
           > ใช้วิธีบีบอัดข้อมูลแบบ  JFIF(JPEG File interchange format)
           >  ไฟล์ประเภท JPEG ไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการใดๆ และสามารถใช้ได้กับเบราเซอร์ทั้ง Netscape และ IE version 2 เป็นต้นไป
           > ใช้ระบบสีขนาด 24 บิต ซึ่งจะให้สีสมจริงมากถึง 16.7 ล้านสีส่งผลให้ได้รูปที่มีคุณภาพสูง


บทที่ 10
  ตัวอักษรมีความสำคัญในการสื่อข้อความถึงผู้ใช้
 ตัวอักษรมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการสื่อ



  ส่วนประกอบของตัวอักษร

         Ascender :ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
         descender :ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline
        baseline :เส้นสมมุติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่
        Cap height :ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
        x-height :ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวม ascender และ descender
        point size : ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดขังตัวอักษร 1 point มีขนาดเท่ากับ 1/72 นิ้ว

  ค่าความสูง x-height จะมีผลต่อภาพรวมของตัวอักษรและความยากง่ายในการอ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น